โดย เมืองทอง แขมมณี ประธานฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสารสรเทศ
สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ
- “เครือข่าย” และ “กิจกรรมเครือข่าย” คืออะไร?
- เครือข่าย คือ โครงสร้างซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้เกิดกิจกรรมเครือข่าย
- กิจกรรมเครือข่าย คือ กิจกรรมที่องค์การ หรือบุคคลเข้ามาร่วมเรียน แลกเปลี่ยนทรัพยากร และประสบการณ์ ทำกิจกรรมร่วมกัน และให้การสนับสนุนเพื่อประโยชน์ร่วมกัน - กิจกรรมเครือข่ายมีประโยชน์อย่างไร
กิจกรรมเครือข่ายอาจก่อให้เกิดประโยชน์ดังต่อไปนี้
- ช่วยสร้างความเชี่ยวชาญให้องค์การสมาชิก โดยแลกเปลี่ยนข้อมูล และประสบการณ์ในการประชุม และการประชุมเชิงปฏิบัติการ
- ทำให้องค์การสามารถดำเนินโครงการร่วมกับองค์การอื่นได้
- ทำให้องค์การรวมทรัพยากรเข้าด้วยกัน เพื่อบรรลุผลซึ่งไม่สามารถบรรลุ ได้หากแต่ละองค์การทำงานเพียงองค์การเดียว
- ลดความซ้ำซ้อนในงาน เพราะสมาชิกจะทราบถึงแผนงานโครงการขององค์การอื่น
- เชื่อมโยงบุคคลจากต่างสาขาวิชาเข้าด้วยกัน
- ทำให้มีโอกาสแบ่งปันความคิดและปัญหา
- ทำให้องค์การทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับสิทธิของผู้สูงอายุ
- ทำให้มีเสียงหนักแน่นขึ้นในการรณรงค์ เพื่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ
- ทำให้องค์การ และบุคคลมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการสูงอายุ และการพัฒนากว้างขวางขึ้น จากการติดตามกับองค์การหรือบุคคลอื่น
- สนับสนุนการเยี่ยมเยียนซึ่งกัน และกันระหว่างกลุ่มผู้สูงอายุ - เครือข่ายมีประเด็นสำคัญที่ควรคำนึงอย่างไรบ้าง?
เครือข่าย คือ โครงสร้างซึ่งจะอำนวยความสะดวก ให้เกิดกิจกรรมเครือข่าย ดังนั้นจึงมีประเด็นสำคัญที่ควรคำนึง เพื่อให้เครือข่ายมีประสทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุดตังต่อไปนี้คือ
- เครือข่ายต้องมีลักษณะ สนับสนุนกิจกรรมร่วมระหว่างสมาชิกเพื่อบรรลุจุดประสงค์ร่วมกัน
เครือข่ายต้องอำนวยประโยชน์ให้สมาชิกจากการทำงานร่วมกัน
เครือข่ายต้องทำให้สมาชิกยังคงมีความเป็นอิสระ และปกครองตนเองได้
เครือข่ายถือว่าการเป็นสมาชิกนั้นเป็นการอาสาสมัครไม่ใช่เป็นการบังคับ
- เครือข่ายอาจเป็นโครงสร้างถาวร เช่น สภา สหพันธ์ สมาคม ซึ่งมีแผนการปฏิบัติงานประจำปีที่แน่นอน หรืออาจเป็นโครงสร้างชั่วคราว เพื่อเฉพาะกิจ ซึ่งอาจสลายตัวเลิกไปได้เมื่อภารกิจเสร็จสิ้นแล้ว
- เครือข่ายต้องมีสมาชิกองค์การหรือบุคคลจำนวนหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ประสานงานเครือข่าย
- เครือข่ายอาจมีข้อตกลง หรือกติกาในการทำงานร่วมกัน แต่ไม่จำเป็นต้องแร่งรัดให้มีระเบียบ ข้อบังคับหรือธรรมนูญ เพื่อใช้ในการทำงาน เพราะสมาชิกอาจสนใจในการกำหนดระเบียบ ข้อบังคับ หรือธรรมนูญมากกว่าการพัฒนากิจกรรมเครือข่าย - เครือข่ายที่ดีจะทำได้อย่างไร
เครือข่ายที่มีประสิทธิผล ต้องการเวลา การลงทุนลงแรง และข้อผูกมัดซึ่งมีประเด็นที่จะทำให้เกิดเครือข่ายที่ดีขึ้นได้ ดังต่อไปนี้คือ
- มีการจัดตั้งเครือข่ายแบบไม่เป็นทางการระยะหนึ่งก่อนที่จะเป็นเครือข่ายแบบทางการ
- องค์การต่าง ๆ มีความปรารถนาที่จะจัดตั้งเครือข่ายร่วมกัน
- เครือข่ายมีจุดประสงค์ที่ชัดเจนแน่นอน
- ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในเครือข่ายอย่างเข้มแข็ง
- มีระบบแบบประชาธิปไตยและโปร่งใสตรวจสอบได้
- มีการประสานงานที่ดี
- มีกิจกรรมเป็นรูปธรรมที่น่าสนใจสำหรับสมาชิก
- สมาชิกทุกคนหรือทุกอง๕การมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง
- สมาชิกมีความเชื่อถือไว้ว่างใจกัน
- เครือข่ายเป็นที่ยกย่องนับถือโดยทั่วไป
- เครือข่ายยืดหยุ่นได้
- มีทรัพยากรเพียงพอที่จะทำให้เครือข่ายดำรงอยู่ได้
- มีการควบคุม กำกับ ติดตาม ประเมินผล อย่างสม่ำเสมอ
- มีการแนะนำให้สมาชิกใหม่เข้าใจในจุดประสงค์และสิธีการทำงานของเครือข่าย - เครือข่ายมักมีปัญหาอะไร? และจะแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างไร?
ปัญหาหลักที่พบบ่อยในการจัดตั้งและดำเนินการเครือข่ายมีดังต่อไปนี้คือ
5.1 ปัญหาที่เครือข่ายมีสมาชิกที่สนใจเรื่องภายในเครือข่ายมากเกินไป เช่น
- การกำหนดระเบียบ ข้อบังคับที่สมบูรณ์
- การแข่งขันแย่งกันเป็นประธานหรือผู้ประสานงานเครือข่าย เป็นต้น
วิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือ เครือข่ายควรสนใจความต้องการที่แท้จริงของผู้สูงอายุให้มากขึ้น และพัฒนากิจกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ในการนี้ อาจมีการจัดระบบงานทำให้เครือข่ายมีการติดต่อสัมพันธ์กับกลุ่ม หรือชมรมผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ
5.2 ปัญหาที่เครือข่ายขาดทิศทางในการทำงาน หรือสามชิกขาดความสนใจในกิจกรรมของเครือข่าย
วิธาการแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือ จะต้องทบทวนวัตถุประสงค์ของเครือข่าย และประเมินประโยชน์ที่เครือข่ายทำให้เกิดแก่สมาชิก และผู้สูงอายุโดยสม่ำเสมอ
5.3 ปัญหาที่เครือข่ายมีสมาชิกบางคน หรือองค์การทรางาวอำนาจเหนือผู้อื่นหรือองค์การอื่น
วิธีแก้ปัญหาคือ ต้องกำหนดให้มีความเสมอภาค และการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกันของสมาชิกตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเครือข่าย และกำหนดวิธีการเพื่อให้ประโยชน์ ที่เครือข่ายจะได้รับนั้นถูกแบ่งปันเท่าเทียมกันในหมู่สมาชิก
5.4 ปัญหาที่เครือข่ายมีสมาชิกที่มีการขัดแย้งกัน เรื่องผลประโยชน์ และความสนใจ เช่น อาจแย่งกันรับการสนับสนุน การยกย่องจากรัฐบาล หรือผู้ให้ทุน หรืออาจมีการอิจฉาริษยากันในหมู่สมาชิกได้
วิธีการแก้ปัญหาคือ จะต้องมีการตัดสินใจต่าง ๆ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการเงิน และผลประโยชน์ในลักษณะเป็นประชาธิปไตย และเปิดเผย สนับสนุนให้สมาชิกมีกิจกรรมร่วมกันเพื่อให้เกิดความเชื่อถือไว้วางใจกัน กำหนดวิธีการแบ่งปันเงินทุน และผลประโยชน์ในหมู่สมาชิกอย่างเท่าทียมกัน และแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันโดยเปิดเผยและใช้สันติวิธี
5.5 ปัญหาการทำงานแบบราชการ และรวมศูนย์ซึ่งอาจเกิดได้โดยสมาชิกเครือข่าย อาจเชื่อมั่นในผู้ประสานงาน หรือประธานเกินไปจนทำให้การตัดสินใจของเครือข่าย เป็นลักษณะรวมศูนย์ไม่เป็นประชิปไตย โดยสมาชิกจะติดต่อกับผู้กระสานงาน หรือประธานโดยตรง แทนที่จะติดต่อกันเอง นอกจากนั้นเครือข่ายอาจสนใจงานในที่ทำงาน หรือการส่งข่าวสานมากเกินไป จนลืมให้ความสำคัญกากิจกรรมคือข่ายโดยสมาชิก
วิธีการแก้ไขปัญหาคือ ผู้ประสานงาน หรือประธานต้องให้ความสนใจที่จะหาสมาชิกมาร่วมกันทำกิจกรรมเครือข่าย ส่งเสริมให้สมาชิกติดต่อกันเอง เว้นแต่ประเด็นที่ทุกคนต้องรับรู้เท่ากันเท่านั้น ซึ่งควรติดต่อผ่านผู้ประสานงานหรือประธาน - คำถามที่มักถูกถามเกี่ยวกับเครือข่าย ?
6.1 เครือข่ายควรมีขนาดใหญ่เท่าไร ?
ขนาดของเครือข่าย จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของเครือข่าย เช่น อาจมีสมาชิกมาก เมื่อต้องการรณรงค์เรื่องสิทธิของผู้สูงอายุ เป็นต้น แต่ข้อแนะนำคือควรเริ่มด้วยเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งจะมีโอกาสประสบความสำเร็ขมากกว่าเครือข่ายขนาดใหญ่
6.2 เครือข่ายควรขยายถึงระดับใด ?
เครือข่ายระดับท้องถิ่น หรือระดับภูมิภาค จะทำให้สมาชิกทำงานร่วมกันง่ายกว่าเครือข่ายระดับชาติ แต่เครือข่ายระดับท้องถิ่น หรือระดับภูมิภาค อาจตัดสินใตที่จะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน จนนำไปสู้สหพันธ์ระดับขาติได้
6.3 เครือข่ายควรประสานงานกันอย่างไร ?
สมาชิกของเครือข่ายควรช่วยกันรับผิดชอบ ประสานกิจกรรมของเครือข่าย ตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อสงเสริมความผูกพันธ์เป็นเจ้าของ แต่ถ้ามีทรัพยากรเพียงพออาจจ้างเจ้าหน้าที่ประสานงานได้ แต่สมาชิกยังคงต้องมีส่วนร่วมช่วยกันทำกิจกรรมต่อไป
6.4 เครือข่ายท้องถิ่นควรมีองค์การนานาชาติเกี่ยวข้องในการจัดตั้งหรือไม่ ?
ความปรารถนาดีจะตั้งเครือข่าย ควรจมจากสมาชิกที่มีศักยภาพในการเริ่มต้น เครือข่ายที่จัดตั้งโดยองค์การภายนอก มักก่อให้เกิดการพึ่งพา และไม่ยั่งยืน แต่องค์การนานาชาติ เช่น Help Age International อาจมีบทบาทในการให้ข้อมูล ให้คำปรึกษา ตลอดจนให้ความสะดวกแก่องค์การ ที่อาจตัดสินในร่วมกันว่าจะเป็นเครือข่ายหรือไม่ นอกจากนั้น ยังอาจมีบทบาทสำคัญในการอบรม และเชื่อมโยงเครือข่ายกับองค์การหลักภายนอกได้
6.5 รัฐบาลหรือหน่วยราชการควรเกี่ยวข้องกับเครือข่ายหรือไม่ ?
การที่รัฐบาล หรือหน่วยงานราชการเกี่ยวข้อง อาจมีทั้งผลดีและผลเสียได้ ผลดีก็คือ มีผู้ที่อาจกำหนดนโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุ หรือการใช้งบประมาณเกี่ยวกับผู้สูงอายุเข้ามาร่วมด้วย ผลเสียคือ ผู้ที่มาจากรัฐบาล หรือราชการอาจแสดงความมีอำนาจเหนือเกินไป แต่อย่างไรก็ตาม แม้เครือข่ายจะไม่มีผู้แทนรัฐบาล หรือราชการเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ควรสร้างสัมพันธ์อันดีต่อกันไว้ เพราะบุคคล หรือองค์การภาครัฐเหล่านั้น จะมีส่วนสำคัญในการทำให้คุณภาพชีวิจของผู้สูงอายุดีขึ้น - ข้อแนะนำในการจัดตั้งเครือข่ายที่มีประสิทธิผล
7.1 “กิจกรรมเครือข่าย” สำคัญกว่า “เครือข่าย” จงอย่าให้ประเด็นเรื่องโครงสร้าง ระเบียบ ข้อบังคับ เข้ามาเป็นอุปสรรคขัดขวางกิจกรรมเครือข่าย
7.2 ทำให้แน่ใจว่าองค์การสมาชิกเครือข่ายที่มีศักยภาพนั้น สนใจที่จะจัดตั้งเครือข่ายอย่างจริงจัง โดยอาศัยประสบการณ์จากการตั้งเครือข่ายมาแล้ว ในลักษณะแบ่งปัน เรียนรู้และทำกิจกรรมร่วมกัน
7.3 กำหนดวัตถุประสงค์ของเครือข่ายให้ชัดเจนแน่นอน และทบทวนโดยสม่ำเสมอ
7.4 ทำให้กิจกรรมของเครือข่ายที่สนใจ และเป็นประโยชน์แก่สมาชิก
7.5 ทำให้แน่ใจว่าสมาชิกใช้เวลาสร้างความเชื่อถือไว้วางใจซึ่งกันและกัน โดยใช้การทำกิจกรรมร่วมกัน
7.6 ทำให้กระบวนการตัดสินใจของเครือข่ายโปร่งใส
7.7 ยอมรับว่าความเข้มแข็งของเครือข่าย ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของสมาชิก เพราะถ้าหากสมาชิดอ่อนแอไม่เข้มแข็ง จะทำให้เครือข่ายอ่อนแอตามไปด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น